แน่นอนว่าในเบื้องต้น ผู้พิมพ์จำเป็นต้องทราบ จำนวน ให้แน่ชัดก่อนว่าต้องการติดต่อโรงพิมพ์เพื่อตีพิมพ์ผลงานจำนวนเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้จัดเตรียมงบประมาณและสามารถต่อรองได้กับโรงพิมพ์
เมื่อทราบจำนวนที่แน่ชัดแล้วต่อมาก็มาดูกันที่ประเภทของสิ่งพิมพ์ ว่าจะเป็น หนังสือพ๊อคเก็ตบุค โบรชัว หรือ นิตยสาร ที่อาจมีลูกเล่นในการพิมพ์หน้าปก การทราบประเภทของสิ่งพิมพ์จะทำให้เราคิดต่อไปในเรื่องของการเลือกใช้กระดาษ ความหนาของกระดาษ รวมไปถึงการเข้าเล่มรูปแบบต่างๆ ที่โรงพิมพ์แต่ละแห่งอาจมีตัวเลือกที่แตกต่างกัน
คือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด แม้ทุกอย่างจะถูกเตรียมพร้อมอย่างดี ทั้งการออกแบบ คอนเทนต์ แต่หากถึงขั้นตอนพิมพ์ผลงานออกมาแล้ว สีเพี้ยน พิมพ์หน้าซ้ำ ตกหล่น ก่อให้เกิดความเสียหายคงไม่ดีแน่ ฉะนั้นขอให้เลือกโรงพิมพ์ที่มีคุณภาพงานที่ดีและมีตัวอย่างความสำเร็จของผลงานที่น่าพอใจ อาจสังเกต ได้จากรางวัลที่ได้รับหรือฐานกลุ่มลูกค้าที่ร่วมงานกับโรงพิมพ์ สอบถามบริการนอกเหนือการจัดพิมพ์ เช่น การส่งงาน หรือความรับผิดชอบหลังการพิมพ์เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ถ้าจะให้ดีทางผู้สั่งพิมพ์ควรตรวจสอบต้นฉบับหรือตัวอย่างก่อนพิมพ์ให้ละเอียดรอบคอบ ก่อนเซ็นต์เอกสารหรือตอบตกลงให้มีการจัดพิมพ์เกิดขึ้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ตามมาตรฐาน ISO (หลักการต้องมาก่อน อิอิ) กระดาษที่มีพื้นที่ 1 ตร.เมตร เป็นขนาด A0 เล็กลงไปอีกก็จะเป็น A1, A2, A3 แต่ที่ใช้กันมาก คือ A4 ซึ่งมีขนาดความกว้าง x ยาว 210 x 297 มม.
หลักการมันมีอยู่ว่ากระดาษขนาด A0 จะมีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร คิดให้เรียบร้อยคือ A0 มีขนาด 841 x 1,189 mm.
A0 พับครึ่ง จะได้ A1
A1 พับครึ่ง จะได้ A2
A2 พับครึ่ง จะได้ A3
A3 พับครึ่ง จะได้ A4 (210 x 297 mm.)
A4 พับครึ่ง จะได้ A5
A5 พับครึ่ง จะได้ A6
ถ้ายังพับไหว ก็พับให้ถึง A10 ไปเลย จะได้ขนาด 26 x 37 mm.
โดยขนาดของกระดาษ Size ต่างๆ มีดังนี้
กระดาษขนาด A0 จะมีขนาดพื้นที่ 84.1 x 118.4 cm
กระดาษขนาด A1 จะมีขนาดพื้นที่ 59.4 x 84.1 cm
กระดาษขนาด A2 จะมีขนาดพื้นที่ 42.0 x 59.4 cm
กระดาษขนาด A3 จะมีขนาดพื้นที่ 29.7 x 42.0 cm
กระดาษขนาด A4 จะมีขนาดพื้นที่ 21.0 x 29.7 cm หรือคิดเป็น pixels ก็จะได้ 595 x 842 pixels
1. กระดาษอาร์ต กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนข้างสูง คุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไปแล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตด้วย มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่
2. กระดาษปอนด์ เป็นกระดาษเนื้อเรียบสีขาว นิยมใช้พิมพ์งานสีเดียว หรือพิมพ์สี่สีก็ได้แต่ไม่มันเงาเท่ากระดาษอาร์ต สามารถเขียนได้ง่ายกว่าทั้งปากกาและดินสอ เหมาะสำหรับพิมพ์เนื้อในหนังสือ กระดาษหัวจดหมาย ฯลฯ ความหนากระดาษที่นิยมใช้พิมพ์หนังสืออยู่ที่ 55 แกรม, 60 แกรม, 70 แกรม, 80 แกรม, 100 แกรม, 120 แกรม
3. กระดาษปรู๊ฟ กระดาษปรู๊ฟ มีเนื้อกระดาษหยาบ สีน้ำตาล หรือขาวหม่น ฉีกขาดง่าย ราคาถูกที่สุด เหมาะสำหรับพิมพ์งานจำนวนมากๆ เช่น หนังสือพิมพ์ และบิลต่างๆ
4. กระดาษแบงค์ กระดาษแบงค์เป็นกระดาษบางๆ มักจะมีสี เช่น สีชมพู สีฟ้า สีเขียว และสีเหลือง นิยมใช้พิมพ์บิลต่างๆ หรือใบปลิว ความหนาประมาณ 55 แกรม, 70 แกรม, 80 แกรม
5. กระดาษแอร์เมล์ เนื้อกระดาษบางประมาณ 38 แกรม สำหรับพิมพ์บิล
ความหนาของกระดาษการวัดความหนาของกระดาษทำได้ยาก เพราะกระดาษแต่ละแผ่นบางมาก ดังนั้นแทนที่จะวัดจากความหนาโดยตรง ก็ใช้วิธีชั่งนํ้าหนักของกระดาษแทน โดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า กระดาษหนาย่อมมีนํ้าหนักมากกว่ากระดาษบาง โดยพิจารณาจากน้ำหนักของกระดาษขนาด 1 ตารางเมตร ในหน่วยวัดเป็น แกรม (gsm: gram per square-metre) กระดาษชนิดเดียวกัน 120 แกรมจึงหนากว่ากระดาษ 80 แกรม
ควรเลือกใช้กระดาษกี่แกรมจึงเหมาะสมการเลือกความหนาของกระดาษต้องพิจารณาตามงานที่เอาไปใช้ เช่นถ้าใช้ทำปกก็ต้องใช้กระดาษหนา แต่ถ้าเป็นใบเสร็จมีหลายชั้นเมื่อเขียนแล้วต้องการให้ทะลุถึงชั้นล่าง อย่างนี้กระดาษก็ต้องบาง ตัวอย่างที่นิยมใช้ ได้แก่
การออกแบบงานโดยไม่ทราบขนาดกระดาษนั้น ทำให้ต้นทุนในการพิมพ์งานนั้นสูงขึ้น เพราะว่ากระดาษจะไม่สามารถตัดให้ลงตัวได้ และจะเป็นเศษทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย ขนาดของกระดาษในที่นี้หมายถึง กระดาษแผ่นใหญ่ ที่ตัดมาจากม้วนแล้วซึ่งมีขนาดต่างๆ ดังนี้
กระดาษปอนด์, อาร์ตมัน, อาร์ตด้าน, ปรู๊ฟ โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ขนาดคือ